โครงการการจัดองค์ความรู้ “การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร”
วันที่ ๓๐พฤษภาคม ๒๕๕๖
ณ ห้องประชุมนลินธร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่ากับคณะ ซึ่งดูแล
รับผิดชอบ งานวิชาการ งานด้านหลักสูตรศึกษาทั่วไป งานจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการรับนักศึกษาเข้าศึกษาและสำเร็จการศึกษา ซึ่งงานดังกล่าว ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของมหาวิทยาลัย และมีการปรับเปลี่ยนบุคลากร สำนักจึงได้มีการจัดองค์ความรู้ในการทำงานเพื่อความเข้าใจในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ของส่วนงาน
ดังนั้นเพื่อให้ บุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้พัฒนาองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ และระบบประกันคุณภาพภายใน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงานให้พัฒนายิ่งขึ้นต่อไป ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้บุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็นของ
แต่ละหน่วยงานในสำนัก
2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และปัญหาต่าง ๆ ในแต่ละส่วนงาน เพื่อนำมา ปรับปรุงใช้งาน
ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น
3. เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และพัฒนาระบบทะเบียน
3. กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน
4. ระยะเวลาการดำเนินงาน
วันเริ่มต้นโครงการ 1 ตุลาคม 2555
วันสิ้นสุดโครงการ 30 กันยายน 2556
5. ดัชนีวัดความสำเร็จของโครงการเชิงคุณภาพ
บุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริการที่ดี ในการประชุมได้แจกแบบสอบถามความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการ และเอกสารการเป็นผู้ให้กับบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ
6. ดัชนีความสำเร็จของโครงการเชิงปริมาณ
จากรายชื่อทั้งหมด 20 คน ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 เปอร์เซ็น ของจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม บุคลากรได้รับประโยชน์ในการจัดองค์ความรู้ “การบริการ” ได้เป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่สร้างคุณค่า
7. ปัญหาอุปสรรคที่พบจากการจัดโครงการปีที่ผ่านมา
1. ระบบการบริหารจัดการโครงสร้างแนวใหม่ของคณะยังไม่ชัดเจน
2. บุคลากรสายสนับสนุนมีน้อยแต่ภาระงานมีมาก
8. แนวทางการแก้ไขและ/หรือป้องกันปัญหา/อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น
1. จัดประชุม อบรม ให้บุคลากรใจในแนวโครงสร้างการบริหารจัดการ
2. มอบหมายภาระงาน จัดคนเข้าสู่ตำแหน่งให้เหมาะสมกับงาน
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น ได้แนวคิดเทคนิค หาจุดแข็ง - จุดอ่อน เพื่อหาวิธีนำมาปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
10. วิธีการประเมินผลการดำเนินงาน
ประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้แบบสอบถาม
เอกสารใช้ประกอบการจัดองค์ความรู้
บทสรุปผู้บริหาร
การจัดองค์ความรู้ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ในหัวข้อ เรื่อง “การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เป็นการจัดในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พัฒนาการทำงาน ซึ่งปีนี้สำนักได้นำบุคลากรที่เข้าร่วม จำนวน ๑๘ ราย เพื่อหาจุดแข็งของหน่วยงาน จุดแข็งมีอะไร ให้ตอกย้ำและทำซ้ำ และจุดอ่อน ตรวจสอบว่า ลบสิ่งนั้นออกไปได้หรือไม่ถ้าลบได้ให้ลบทันที ภาพลักษณ์การบริการจะเกิดขึ้นได้ต้องมีมาตรฐานการให้บริการเดียวกัน ในการให้บริการในงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี ซึ่งในการจัดองค์ความรู้ในลักษณะเดียวกันนี้สำนักได้รับความร่วมมือจากบุคลากรและคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนด้วยดี ในการจัดองค์ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และ การจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สำนักที่ได้ปรับปรุง จากความร่วมมือของบุคลากร เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนพิจารณาอนุมัติไปเรียบร้อยแล้ว การจัดองค์ความรู้ครั้งนี้จึงเป็นการจัดในรูปแบบกระบวนการที่สร้างคุณค่า เป็นประโยชน์กับบุคลากรของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และได้มีการประเมินผลการเข้าร่วมโครงการ และสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป
การจัดโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เพื่อบริหารข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง โดยยึดคำที่ว่า “ทำทุกอย่าง เพื่อให้บริการประทับใจ” เหมือนกันกับบริการทุกระดับ ประทับใจ แล้วจุดแข็ง – จุดอ่อน ของงานที่ทำ มาวิเคราะห์ร่วมกัน มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อให้ได้บทสรุปที่ชัดเจนและถ่ายทอดไปสู่บุคคลอื่นได้
จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นั้น พบว่าความต้องการที่จะพัฒนาบุคลากรมีมาก และจำเป็นต้องมีแนวทางแก้ไขให้ไปในทิศทางเดียวกัน
จากผลการประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมประชุมโครงการจัดการองค์ความรู้ “การบริการ” จากตารางที่ 2 พบว่าความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุมโครงการจัดการองค์ความรู้ “การบริการ” โดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด (= 3.526) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจ ของผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากสุดไปหาด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด ได้แก่ ด้านที่ 2 ด้านกระบวนการ ด้านที่ 3 ด้านคุณภาพของการให้บริการและผลที่ได้รับ และด้านที่ 1 ด้านปัจจัยนำเข้า (=3.75, =3.532, =3.297) ตามลำดับ
ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=3.297) เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกราย การรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 รายการแรก ได้แก่ รายการที่ 1.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมฝึกอบรมโดยรวมน่าสนใจ รายการที่ 1.4 เนื้อหาที่นำเสนอในการฝึกอบรมประกอบการบรรยายน่าสนใจ ครอบคลุม/ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ (=3.438, =3.438) ตามลำดับ
ด้านกระบวนการ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (=3.75) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ รายการที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ รายการที่ 2.2 ความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ฟังได้เข้าใจ รายการที่ 2.1 ความรู้ความชำนาญของวิทยากรเหมาะสมกับเนื้อหาที่บรรยาย รายการที่ 2.4 ความชัดเจนในการให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามของวิทยากร (=3.875, =3.813, =3.813) ตามลำดับ
ด้านคุณภาพของการให้บริการและผลที่ได้รับ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (=3.532) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ รายการที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ รายการที่3.4 โดยรวมแล้วการประชุมครั้งนี้ให้ประโยชน์คุ้มค่า รายการที่3.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการฝึกอบรม (=3.625, =3.563) ตามลำดับ
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
เลขที่ 2 ถนนราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ 045-352-000
E-mail : info.apr@ubru.ac.th ©2025 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน | Designed by Raipeek